ของเล่นโมบายกับการเลี้ยงลูกน้อยแบบ Montessori Baby
โมบายไม่ใช่แค่วัตถุแขวนไว้มองเหนือเตียงเด็กสวยๆเท่านั้นแต่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการเลี้ยงเด็กทารกฉบับMontessori ซึ่งควรมีใช้สับเปลี่ยนมากกว่า 4-5 ชิ้นเลยทีเดียว
Illustration from Baby's First Eames Book
หลักการเลือกโมบายคือ ความเรียบง่ายแต่น่าสนใจ นำ้หนักเบาเคลื่อนไหวเองโดยไม่ต้องมีมอร์เตอร์ มองเห็นได้จากหลายวิวหลายมุมมอง ตัวอย่างเช่นโมบายของนักออกแบบชาวอิตาลี่ Bruno Munari ที่นิยมใช้กันเป็นสีhigh contrastเหมาะกับสายตาที่ยังมองเห็นแต่สีขาวดำ มีนำ้หนักเบาเพราะทำจากกระดาษ
ความสวยงามเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเกี่ยวกับจิตซึบซับของลูก ทำให้ลูกได้ซึมซับสิ่งสวยงามตั้งแต่เด็ก เช่นโมบายabstract ของAlexander Calderที่เกิดจากองค์ประกอบศิลป์ที่สวยงามและลงตัว อีกทั้งดูอ่อนช้อยเมื่อเคลื่อนไหวไปมา
Montessori แบ่งโมมายออกตามพัฒนาการของเด็กดังต่อไปนี้
1. การมองเห็น โมบายที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ เรียบง่ายแต่เตะตา เป็นการฝึกการมองเห็น จุดอ้างอิง สร้างความเพลิดเพลินและฝึกสมาธิได้อีกด้วย โมบายไม้ผสมอะคริลิกของBlue Ribbonช่วยกระตุ้นการมองเห็นเพราะมีทั้งวัสดุที่ทึบแสง โปร่งแสง และยังผสมวัสดุธรรมชาติและพลาสติกเข้ากันอย่างลงตัว เมื่อโมบายเคลื่อนไหว และกระทบแสงจะสร้างภาพที่สวยงามและดึกดูดความสนใจได้อย่างมาก
2. กล้ามเนื้อมัดเล็ก โมบายสำหรับการสัมผัสหยิบจับ ควรมีฟอร์ม และผิวสัมผัสที่น่าสนใจ ไม่แหลมคม นุ่มนวลแต่มีนำ้หนักเช่น โมบายไม้รูปทรงorganicต่างๆของBlue Ribbon ถูกออกแบบมาให้มีความนุ่มนวลต่อมือเด็กและมีนำ้หนักกำลังดีเหมาะสำหรับกล้ามเนื้อมัดเล็กที่กำลังพัฒนา
3. กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กิจกรรมการเตะ สามารถห้อยโมบายไว้ใกล้ๆที่นั่งเด็กเช่น baby bouncer และปล่อยให้เด็กเตะได้ หรือหากลูกเริ่มหัดคลานและเคลื่อนไหวร่างกายสามารถห้อยไว้ห่างจากตัวลูกเล็กน้อยเพื่อให้ลูกเอื้อมไปหาหรือคืบไปหา
เราอาจจะมองว่าโมบายเป็นแค่ของสวยงามมาแขวนไว้ที่ห้องเด็กเล็กๆ แต่โมบายนั้นมีประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็กๆจริงตามหลักการเลี้ยงลูกแบบ Montessori และโมบายของBlue Ribbon ก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับinteriorของบ้าน แม้ว่าเด็กๆจะโตขึ้นจนเลิกเล่นแล้ว ก็ยังสามารถใช้ห้อยเป็นของแต่งบ้านได้ต่อไปอีกด้วย